

10 July 2024
ทำไมถึงต้อง simulate ผลการผลิตไฟฟ้า ก่อนการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์
ส่วนหนึ่งใน report ที่ถูก simulate ขึ้นมาจากโปรแกรม PVsyst
ตัวอย่างที่ 1 คือการติดตั้ง solarcell ขนาดกำลังผลิต 20.5 kWp (จากโซล่าเซลล์ขนาด 410w จำนวน 50แผง) และใช้ inverter ขนาดกำลังผลิต 20kW จะชี้ให้เห็นว่ากำลังผลิต ที่ผลิตได้จริงสูงสุดจาก โซล่าเซลล์จะไม่เกิน 16-17 kW เท่านั้น...ทำไมถึงเป็นเช่นนี้?
เนื่องจากว่ากำลังผลิตของโซล่าเซลล์ที่ติดตั้งบนหลังคาจะมีค่าสูญเสียต่างๆที่เกิดขึ้นเสมอโดยเฉพาะค่าอุณหภูมิความร้อนบนหลังคามักจะสูงกว่า 25 องศาซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ใช้เป็นเงื่อนไขในการผลิตแผง(STC)อยู่มาก จึงทำให้โซล่าเซลล์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เท่ากับกำลังผลิตที่ระบุอยู่ในแผง ดังนั้นวิธีการแก้ไขแบบตรงไปตรงมาก็คือการเพิ่มจำนวนแผงให้เพียงพอกับกำลังผลิตที่เราคาดหวัง โดยเพิ่มแผงขึ้นอย่างน้อย 20%-30% จากเดิม แต่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของ inverter ด้วยเสมอว่าสามารถเพิ่มแผง ได้สูงสุดกี่แผงหรือกำลังผลิตด้าน input DC สูงสุดกี่กิโลวัตต์
ภาพที่ 2 simulate มาจากโปรแกรม PVsyst ที่ติดตั้งแผง solarcell เพิ่มขึ้นเป็นขนาดกำลังผลิต 26.24 kWp (จากโซล่าเซลล์ขนาด 410w จำนวน 64แผง) และ inverter 20kW เท่าเดิม ในวงกลมสีแดงจะแสดงให้เห็นว่ากำลังผลิตจากแผงโซล่าเซลล์ชุดนี้สามารถวิ่งไปได้ถึงกำลังผลิตสูงสุดของ inverter ซึ่งทำให้เราใช้ประสิทธิภาพของ inverter ได้คุ้มค่าที่สุด
อย่างไรก็ตาม ถ้าเพิ่มแผงมากกว่านี้(แต่ไม่เกิน maximum input dc ของ inverter) ฝั่ง output AC ของ inverter ก็ไม่สามารถผลิตได้เกิน 20 kW อยู่ดี ซึ่งถือเป็นการสิ้นเปลืองมากเกินไปอีกเช่นกัน
กล่าวโดยสรุปคือ ก่อนการติดตั้งทุกครั้งถ้าสามารถ simulate โดยใช้โปรแกรมที่น่าเชื่อถือ เช่น โปรแกรม PVsyst จะเป็นการทำงาน ที่คาดหวังผลลัพธ์หรือผลผลิตไฟฟ้า(electricity yield) ได้ตามที่เรา ปรารถนาและยังสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้มาวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าก่อน การลงทุนติดตั้งจริงได้อีกด้วย
มีคำอธิบายอยู่ในคู่มือการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคาเพื่อการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้า
ที่มา : Chalermpon Satayavutipong