การประเมินผลผลิตไฟฟ้า (kWh) ก่อนการติดตั้ง

10 July 2024

การประเมินผลผลิตไฟฟ้า (kWh) ก่อนการติดตั้ง

การประเมินผลผลิตไฟฟ้า(kWh) ก่อนการติดตั้งโซลาร์เซลล์จริง เป็นสิ่งที่ ผู้ลงทุนควรให้ความสำคัญ เนื่องจากจะทำให้สามารถประเมินผลตอบแทน และระยะเวลาคืนทุนได้ก่อนลงทุนจริง

จากตัวอย่าง เป็นการทำ simulation โดยใช้โปรแกรม PVsyst ประเมินผล ผลิตไฟฟ้าก่อนการติดตั้งจริง และใช้เงื่อนไขทุกอย่างให้ใกล้เคียงกับ การติดตั้งจริงที่สุด เช่นทิศทางและองศาของแผงในการติดตั้ง ซึ่งหลังจาก การติดตั้งเสร็จเรียบร้อยจึงเปรียบเทียบผลผลิตไฟฟ้าจริงกับที่ simulate ได้

ผลการเปรียบเทียบจะเห็นได้ว่าการทำ simulation กับการติดตั้งจริง ได้ผลที่ใกล้เคียงกัน โดยเปรียบเทียบกันที่เดือน กย. และช่องที่ตีสีแดงไว้
E-grid (ช่องแนวตั้ง) คือหน่วยไฟที่คาดว่าโซล่าจะผลิตได้ในแต่ละเดือน (ช่องแนวนอน) ถ้าดูจากเดือน กันยายน หน่วยไฟที่คาดว่าจะผลิตได้คือ 3,516 หน่วย หรือเฉลี่ยที่ 30 วัน จะตกวันละประมาณ 117 หน่วย

จากกราฟโปรแกรมของระบบโซลาร์เซลล์ที่แสดงหน่วยไฟที่ผลิตและได้ใช้จริงประมาณ 109 หน่วย ซึ่งใกล้เคียงกับที่ simulate ไว้ (ถ้าฟ้าเปิดกว่านี้น่าจะ ได้หน่วยไฟมากกว่าที่ simulate ไว้พอสมควร) แสดงว่าการติดตั้งจริงกับ การ simulate มีค่าใกล้เคียงกัน หรือบอกได้ว่า ระบบค่อนข้างเสถียร อย่างที่ได้ออกแบบไว้

สิ่งสำคัญที่จะทำให้ผลการ simulation แม่นยำหรือไม่แม่นยำก็คือการใส่ค่าที่จำเป็นต่างๆลงในโปรแกรมให้ใกล้เคียงกับการติดตั้งจริงที่สุด

หลังจากนั้นจึงนำผลผลิตไฟฟ้าที่ประเมินได้ไปประเมินหาจุดคุ้มทุนเพื่อประเมินถึงความเหมาะสมหรือความเป็นไปได้ในการลงทุนต่อไป

ที่มา : Chalermpon Satayavutipong

บทความอื่นๆ